Daily Archives: July 22, 2016

หลักการทำงานของหลอด LED

Posted by admin on July 22, 2016
สินค้า / Comments Off on หลักการทำงานของหลอด LED

ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับหลักการทำงานของหลอด LED เรามารู้จัก หลอดLED กันก่อนนะคะ

หลอดไฟฟ้า LED ย่อมาจากLight-emitting diode  ทำจากอุปกรณ์ไฟฟ้ากึ่งตัวนำ หรือศัพท์เฉพาะทางเรียกว่าไดโอดเปล่งแสงมีการพัฒนาจากแค่เพียงอุปกรณ์เล็กๆที่ทำหน้าที่เปล่งแสงออกมาเพื่อแสดงสถานะของอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นนั้นว่ามีกระแสไฟฟ้าอยู่หรือมีสถานะใดๆตามสีที่แสดงออกมา และพัฒนามากขึ้นมาเป็นหลอดไฟ LED Strip ที่ใช้เป็นไฟสำหรับตกแต่งให้ได้สีและแสงตามที่ต้องการ จากนั้นมีการนำมาใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าส่องสว่างหลายๆอย่าง เช่น ไฟฉาย LED ไฟสำรองรองฉุกเฉิน ที่เราคุ้นเคยกันดีก็น่าจะเป็นทีวีแบบ LED ที่เคยได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ่ง และพัฒนาเรื่อยมาเป็นหลอดไฟ LEDที่ใช้งานตามบ้านในครัวเรือน สำนักงาน หรือสามารถทดแทนหลอดไฟฟ้าแบบเดิมได้เลยด้วยข้อดีหลายๆอย่าง เช่น กินไฟน้อยกว่า ให้ความสว่างกว่า มีอายุการใช้งานที่นานกว่า สามารถควบคุมสี และแสงของหลอดไฟ LED ได้มากกว่า ลดการสูญเสียพลังงานไปได้มากกว่าด้วย

เมื่อเปิดสวิตช์ไฟ กระแสไฟฟ้าจะผ่าน driver เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง และเปลี่ยนจากความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงไปสู่ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ค่อนข้างต่ำ ประมาณ 2.5-3 โวลต์ แล้วจึงจ่ายเข้าตัวชิปของหลอด LED ซึ่งมีเพียงตัวนำแคโทดและแอโนดเท่านั้น โดยหลอด LED จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้อยมาก ประมาณ 20 มิลลิแอมป์ ในตัวชิปของ LED ประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำขั้วประจุบวกชนิด P (Positively changed material) ที่อยู่ห่างจากสารกึ่งตัวนำขั้วประจุลบชนิด N (Negatively changed material) เล็กน้อย จุดนี้เรียกว่ารอยต่อ (junction) เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านหลอด LED ตัวนำแอโนดจะไปดันขั้วประจุบวก และตัวนำแคโทดไปดันขั้วประจุลบให้มาชนกัน เมื่อประจุบวกและประจุลบมาชนกันที่รอยต่อของสารกึ่งตัวนำทั้งสองชนิด ก็จะจับตัวกันและคายพลังงานออกมาในรูปของแสงสว่าง ซึ่งเรียกว่า “อิเล็กโตรลูมิเนสเซนต์” ทำให้เกิดแสงสว่างที่บริเวณด้านหน้าตัวหลอด ซึ่งมีอุณหภูมิในการทำงานที่ประมาณ 25 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป แสงสว่างที่ออกมาจะลดลง แสงจากหลอด LED มีลักษณะพุ่งออกในทิศทางเดียว แต่ในกรณีที่ต้องการให้แสงกระจายออกในมุมแคบหรือกว้างเพิ่มขึ้น ก็จะใช้อุปกรณ์ครอบหลอด LED ในลักษณะของเลนส์ (package) ไว้เพื่อบังคับทิศทางของการกระจายแสงหลอด LED สามารถเปิดปิดได้ทันที ไม่ต้องใช้ระยะเวลาในการจุดติดเหมือนหลอดไส้ที่ต้องเผาไส้หลอด หรือหลอดดิสชาร์จที่ต้องปรับแรงดันก๊าซภายในหลอด LED สามารถปรับความเข้มของแสงได้ด้วยอุปกรณ์หรี่ไฟ (dimmer) โดยขึ้นอยู่กับรุ่นและอุปกรณ์ควบคุมซึ่งจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนเลือกใช้

 

Tags:

ลักษณะต่างๆของผ้ากันเปื้อน

Posted by admin on July 22, 2016
สินค้า / Comments Off on ลักษณะต่างๆของผ้ากันเปื้อน

ผ้ากันเปื้อนเป็นเครื่องนุ่มห่มที่ใช้สวมใส่ภายนอกทับเครื่องนุ่งห่มหลัก มีผ้ากันเปื้อนหลายชนิด ทั้งแบบเต็มตัว ครึ่งตัว เต็มตัวยาวถึงเท้า แบบคล้องคอ ไขว้หลัง สายคล้องคอปรับระดับได้ ส่วนมากทำมาจากเนื้อผ้าหรือเนื้อพลาสติก PVC โดยการเลือกใช้แต่ละแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน การใช้ผ้ากันเปื้อนจะสวมใส่ทางด้านหน้าของร่างกาย และมีสายผูกหรือคล้องคอมาทางด้านหลัง มีหลายอุตสาหกรรมที่ใช้ผ้ากันเปื้อน ทั้งอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบา เช่น โรงงานผลิตเครื่องจักรกล โรงงานผลิตอาหาร โรงพยาบาล ห้องแลบ ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม งานออกบูธ งานอีเวนท์ หรือใช้เป็นของแจก ของพรีเมียมต่างๆ

ในโรงงานผลิตเครื่องจักรกล เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ ช่างในโรงงานจะสวมใส่ผ้ากันเปื้อนเพื่อป้องกันคราบสีหรือคราบน้ำมันไม่ให้มาเลอะกับเครื่องนุ่งห่มหลัก ในโรงงานผลิตอาหาร เช่น โรงงานผลิตอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ พนักงานในไลน์ผลิตจะใส่ผ้ากันเปื้อนเพื่อป้องกันคราบเลือดหรือคราบสกปรกอื่นๆ ที่มาจากเนื้อสัตว์ในไลน์ผลิต ในร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม พนักงานในร้านจะสวมใส่ผ้ากันเปื้อนเพื่อป้องกันการเปรอะเปื้อนจากคราบอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้บางร้านยังออกแบบผ้ากันเปื้อนให้มีความสวมงาม เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับร้าน

นอกจากจะใช้ผ้ากันเปื้อนเพื่อป้องกันคราบสกปรกต่างๆ แล้ว ยังใช้สวมใส่เพื่อความสวยงามได้อีกด้วย เช่นในงานออกบูธ งานอีเวนท์ต่างๆ บางร้านค้าหรือบริษัทจะใช้ผ้ากันเปื้อนที่ออกแบบให้มีรูปแบบและลวดลายที่สวยงาม เพื่อทำให้บรรยากาศในงานมีสีสันสดใสและดึงดูดผู้เข้าชม เมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรซักล้างผ้ากันเปื้อนให้มีความสะอาดและดูใหม่อยู่เสมอ แต่ในบางงานคราบสกปรกจะเป็นคราบหนักที่ทำความสะอาดได้ยากมาก เช่น คราบเลือด คราบสี คราบน้ำมัน จึงมีผ้ากันเปื้อนที่ทำจากเนื้อพลาสติก PVC ที่เพียงใช้น้ำฉีดก็สามารถชะล้างคราบเหล่านี้ออกได้อย่างง่ายดาย

Tags: